รวมผู้เชี่ยวชาญในวงการปศุสัตว์ สู่งาน อิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2019

วิฟ เอเชีย 2021 เลือก อิมแพ็คเป็นสถานที่จัดงานตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป

STTA เผย ตลาดการค้าวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีไทยยังอยู่แถวหน้าของอาเซียน ย้ำภาครัฐต้องร่วมสนับสนุน

เจาะลึกทุกเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจเกษตรแห่งอนาคต ผ่านงาน Agrifuture Conference & Exhibition

เจาะลึกทุกเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจเกษตรแห่งอนาคต ผ่านงาน Agrifuture Conference & Exhibition

ข่าวประชาสัมพันธ์กรุงเทพ : ในยุคของ Disruptive technologies แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ กำลังเข้ามาเป็นปัจจัยในการสร้างขอบเขตและวางรากฐานของอนาคต ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภูมิภาค ส่งผลให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นศูนย์รวมของนวัตกรรมเกษตรแห่งอนาคต ซึ่งองค์กรเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) และ วีเอ็นยูฯ สองผู้จัดงานเกษตรระดับโลกต่างเล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้และต้องการกระตุ้นตลาดเกษตร ตลอดจนนำเอาองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามานำเสนอให้เกษตรกรรายใหญ่ ผู้ซื้อ และผู้ประกอบการได้มีโอกาสนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแบ่งปันแนวคิดเพื่อร่วมสร้างอนาคต จากเทคโนโลยีสู่ชุมชน อันจะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรทั้งไทยและเอเชียอย่างสมบูรณ์

จากแนวคิดดังกล่าวก่อให้เกิดงานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเกษตรแห่งอนาคต Agrifuture Conference & Exhibition กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2562 True Digital Park กรุงเทพฯ และ วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2562 Kubota Farm อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโลกธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ ในยุค Digital Disruption เป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ โดยตั้งเป้าเรียนเชิญผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,200 คนจากทั่วภูมิภาคเอเชีย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ผ่านงานประชุมนานาชาติที่มีการจัดงานนิทรรศการแสดงสินค้า และการเชื่อมต่อเครือข่ายทางธุรกิจ ที่เกษตรกร ผู้ประกอบการค้าและผู้รับจ้างให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร เจ้าของบริษัท เจ้าของสวน/ไร่ ตัวแทนจำหน่าย สหกรณ์เกษตร นักวิจัย นักวิชาการเกษตร นักวิศวกรรมเกษตร และนักวางแผนและพัฒนานโยบายภาครัฐ จะเป็นกลุ่มที่เรียนเชิญให้เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ในวันแรกของการประชุมจะเรียนเชิญผู้นำด้านการผลิตและซื้อขายสินค้าเกษตรมาบรรยายใน 2 หัวข้อหลัก 1. แนวโน้มการเติบโตของผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกและภูมิภาคต่างๆ (Global & Regional Crop Markets)

2. เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) โดยเน้นไปที่เกษตรดิจิทัล ได้แก่ การทำเกษตรแม่นยำสูง ดาวเทียมเพื่อการเกษตร การวางแผนจัดการพื้นที่และวางระบบน้ำ โดยใช้เทคโนโลยี IT การพัฒนาเมล็ดพันธุ์และดิน การตรวจสอบย้อนกลับ และเครือข่ายการเก็บข้อมูล การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูปและสร้างแบรนด์ เพื่อขยายสู่ตลาดสุขภาพและความงาม รวมถึงเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในขณะที่วันที่สองนั้นจะมุ่งเน้นในส่วนของการบริหารจัดการการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการจัดการทางการเงินและต้นทุนการผลิต (Mechanization & Financial Management)” โดยคาดหวังว่างานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ จะมีผู้ประกอบการกว่า 30 ราย ที่จัดแสดง Disruptive Technology ของการเกษตรในอนาคต

นายฮิโรโตะ คิมุระ ประธาน บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด พันธมิตรทางนวัตกรรมของงาน Agrifuture กล่าวว่าวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ คือ การเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรด้วยนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคตเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน มุ่งหวังให้เกษตรกรบริหารจัดการในการทำเกษตรให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต นำไปสู่การสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งยกระดับภาคเกษตรกรรมของอาเซียนให้มั่นคงอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกมีความมั่นคงทางอาหารในการบริโภคจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัย อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการยอมรับความเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก (Global Major Brand) ตามนโยบายของคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ด้วยพันธกิจเดียวกันเราจึงเชื่อมั่นในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน Agrifuture ในครั้งนี้ว่าจะช่วยตอบโจทย์ด้านการพัฒนาการเกษตรแห่งอนาคตอย่างแท้จริง

ราคาบัตรเข้าร่วมฟังสัมมนา Agrifuture Conference & Exhibition

โปรโมชั่น ราคาพิเศษเฉพาะผู้ลงทะเบียนระหว่าง วันนี้ – 30 กันยายน 2562 เท่านั้น!

  • ราคาบัตรเข้าฟังสัมมนา ราคาปกติ 15,000 บาท (480 USD) จ่ายเพียง 12,000 บาท (380 USD)
  • โปรโมชั่นเพิ่มเติมสำหรับชาวไทย ลดเพิ่มเติมอีก 25% จ่ายเพียง 9,000 บาท**

โปรโมชั่น ราคาสำหรับการลงทะเบียนแบบหมู่คณะ

  • ราคาบัตรเข้าชมงาน แบบกลุ่ม 4 ท่าน 36,000 บาท (1,120 USD)
  • สิ่งที่ได้รับ: บัตรเข้าฟังสัมมนาวันที่ 2 ธันวาคม 2562 รวมอาหารเช้ากลางวันอาหารว่างตลอดทั้งวัน, เอกสารงานสัมมนา, เข้าร่วมงาน Networking, ห้องพัก 1 คืนในโรงแรมพันธมิตร พร้อมค่าเดินทางในการเยี่ยมชมฟาร์มเทคโนโลยีตัวอย่างในวันที่ 3 ธันวาคม 2562
  • หมายเหตุ: ค่าลงทะเบียนแบบไม่รวมที่พักกรอก promo code: DISACCOMM

ลงทะเบียนเข้างานได้ที่ www.online-register.org/agrifuture/register/ | ดูรายชื่อวิทยากรที่ www.agritechnica-asia.com/agrifuture-conference/

สนใจสนับสนุนการจัดงาน กรุณาติดต่อ คุณโรซานา ดับเบรรา | โทร. 02-670-0900 ต่อ 128-129 | อีเมล์: [email protected]

ไทยแลนด์แล็บพาชมศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน

21 สิงหาคม 2562 – กรุงเทพฯ: วีเอ็นยูฯ ผู้จัดงานไทยแลนด์แล็บอินเตอร์เนชั่นแนลพาสื่อมวลชนเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการผลิต นวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนรู้ลึกถึงการพัฒนารสชาติ เนื้อสัมผัสของอาหาร ก่อนส่งออกจัดจำหน่ายในตลาด พร้อมแสดงอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยและค้นคว้าด้านปลาทูน่าโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการผลิตและเทคโนโลยีทันสมัยทัดเทียมสากล

“นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจของไทยยูเนี่ยนให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับ อีกทั้งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตของบริษัท เพราะนวัตกรรมจะช่วยสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด” ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว

คุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการ ไทยแลนด์แล็บอินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า “ทางวีเอ็นยูฯ ผู้จัดงานไทยแลนด์แล็บอินเตอร์เนชั่นแนล และงานไบโอ อินเวสเมนท์ เอเชีย เล็งเห็นความสำคัญของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมงานวิจัยของนักวิจัยสู่ภาคธุรกิจ และการควบคุมคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหาร ซึ่งมีผลโดยตรงกับผู้บริโภค เราจึงได้จัดงานสื่อมวลชนสัญจรครั้งนี้ขึ้น ห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่เวทีโลก และเราต้องขอขอบคุณทางบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ให้โอกาสคณะของเราได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมในครั้งนี้ สำหรับปีนี้ งานไทยแลนด์แล็บอินเตอร์เนชั่นแนล 2019 พร้อมนำเสนอเวทีแสดงสินค้า และเจรจาธุรกิจด้านเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก มากกว่า 250 บริษัท รวมกว่า 500 แบรนด์ชั้นนำของโลกมาจัดแสดงในประเทศไทย วันที่ 25-27 กันยายน นี้”

เกี่ยวกับไทยยูเนี่ยน

ศูนย์นวัตกรรมได้รับการออกแบบให้มีความเป็นอิสระ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงถึงกัน โดยประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการด้านเคมี ห้องปฏิบัติการด้านโภชนาการ และห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีโรงงานต้นแบบและสำนักงาน ซึ่งมีพื้นที่สำหรับจัดประชุมและงานกิจกรรมต่างๆ

ความคล่องตัว ทันสมัย และดีไซน์ที่เปิดโล่ง เป็นจุดเด่นของพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทลายสิ่งกีดขวางในการทำงานร่วมกันต่างๆ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความใกล้ชิดของนักวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดและเกิดความร่วมมือกัน โดยศูนย์นวัตกรรมนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในงานอเนกประสงค์ การควบคุมเสียง การสั่น ความชื้น การระบายอากาศ และความดันอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการแสดงตัวอย่างสินค้าตลอดผนังแก้วสองข้างทาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจและเชื่อมโยงนักวิจัยให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก

นอกจากนี้ การออกแบบศูนย์นวัตกรรมยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างความหลากหลายของบุคลากร เพราะเราเชื่อว่าความหลากหลายต่างๆ เช่น ความสนใจ อายุ เพศ และเชื้อชาติ เมื่อรวมเข้าด้วยกันจะก่อให้เกิดวิธีการคิดที่หลายมุมมอง ไปข้างหน้าและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะขับเคลื่อนเราไปสู่ความสำเร็จ

• ด้วยเงินลงทุนกว่า 600 ล้านบาท ศูนย์วิจัยนวัตกรรมมีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 10 ของรายได้บริษัท ภายในปี พ.ศ. 2563
• ศูนย์วิจัยนวัตกรรมได้ขยายพื้นที่เป็น 1,200 ตารางเมตร หรือสองเท่าของพื้นที่เดิม และใช้เงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาทในการซื้ออุปกรณ์ด้านวิจัยใหม่
• ในปีพ.ศ. 2558 งานวิจัยหลักเรื่องทูน่าได้รับการยกย่องในระดับประเทศจากรัฐบาลไทย
• สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมกับสถาบันต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลก

เกี่ยวกับไทยแลนด์แล็บอินเตอร์เนชั่นแนล 2019

งานไทยแลนด์แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นในวันที่ 25-27 กันยายน 2562 ณ ไบเทค บางนา เป็นงานแสดงเทคโนโลยี เครื่องมือและบริการสำหรับห้องปฏิบัติการทาง หรือห้องแล็บครบวงจร พร้อมเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ด้านเครื่องมือวิเคราะห์ เคมีภัณฑ์ และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างงานสัมมนาที่น่าสนใจ ได้แก่

– นวัตกรรมชุดทดสอบอาหาร เพื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
– แนวโน้มการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในอนาคต โดยสมาคมไวรัสวิทยาประเทศไทย
– กัญชาเสรีในมิติทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำได้จริงหรือ? โดยสถาบันอาหารร่วมกับสมาคมเอโอเอซี ประเทศไทย
– แนวโน้มและโอกาสทางธุรกิจของธุรกิจสุขภาพในยุคดิจิทัล ตลาดชีววิทยาศาสตร์ในระดับโลก และการแพทย์แม่นยำ โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
– ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สินค้าปศุสัตว์เพื่อการส่งออก โดยสำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
– การสร้างแนวปฏิบัติการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการของอุตสาหกรรมเคมีในประเทศไทย โดยสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนเข้างานฟรีที่ www.thailandlab2019.com โดยงานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2562 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:00 น.

____________________________________________________________________________________________

รายละเอียดการจัดงาน ติดต่อ www.thailandlab.com หรือ โทร 0 2670 0900
ฝ่ายสื่อสารการตลาด ติดต่อ คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี อีเมล์ [email protected]

อิลเด็กซ์พร้อมดึงนักลงทุนสู่ตลาดปศุสัตว์อินโดนีเซีย จับตาเศรษฐกิจเติบโตสูงถึง 5.2% ในปีนี้

อินโดนีเซียเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง นับตั้งแต่การเอาชนะวิกฤตการเงินในเอเชียในช่วงปลายปี 1990 GDP ต่อหัวของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก $ 807 ในปี 2000 เป็น $ 3,877 ในปี 2018 วันนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก และ เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกทั้งในแง่ของกำลังซื้อและตลาดที่แข็งแกร่ง โดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียคาดว่าจะสูงถึง 5.2% ในปี 2562 ในแง่ของภาคการเกษตรและปศุสัตว์มีส่วนร่วมประมาณ 12% ของ GDP ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มประมาณ 43% ในการผลิต ในแง่ของต้นทุนการผลิตอินโดนีเซียอยู่ที่อันดับที่สี่สำหรับเนื้อวัว อันดับที่สามสำหรับแกะและแพะ อันดับสี่สำหรับการผลิตไก่เนื้อ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมน้ำหนัก น้อยกว่าประเทศในสมาชิกอาเซียน ซึ่งทำให้ตลาดปศุสัตว์ในอินโดนีเซียมีหลายช่องทางในการพัฒนาเพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ซึ่งการพัฒนาหรือลดต้นทุนการผลิตจะมีประสิทธิภาพเมื่อมีเทคโนโลยีชั้นสูงที่เหมาะสมกับการใช้งานในฟาร์มการผลิต ซึ่งผู้จัดอย่าง วีเอ็นยูฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในตลาดนี้ และพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนา ตลอดจนการเชื่อมโยงตลาดปศุสัตว์อินโดนีเซีย กับ นานาประเทศ โดยมีการจัดงาน “อิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2019” ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2562 นี้ ณ ฮอลล์ 3 และ 3A ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติ ICE กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ภายในงานผู้เข้าชมงานจะได้พบกับผู้ประกอบการมากกว่า 250 บริษัทชั้นนำ จาก 30 ประเทศ นำเสนอเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการแบ่งปันความรู้ผ่านงานประชุมและงานสัมมนา จัดโดย บริษัทชั้นนำ ภาครัฐ สมาคมที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดทีเซีย โดยงานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซียจะนำเสนอครอบคลุมธุรกิจสัตว์ปีก สัตว์เนื้อ สัตว์น้ำ มีการแบ่งโซนบูทแสดงสินค้าภายในงานออกเป็น โซนสุขภาพสัตว์, การจัดการโรงเรือน/ฟาร์ม, อาหารสัตว์, การผสมพันธุ์สัตว์, การฟัก, การฆ่าและแปรรูป, การวิจัยในห้องปฏิบัติการ ครั้งแรกกับการเปิดตัวโซน การกำจัดขยะในอุตสาหกรรม และพิเศษสุดกับโซน แสดงสัตว์มีชีวิต โดยมีฟาร์มผู้ผลิตจากอินโดนีเซียนำสัตว์ในฟาร์มมาแสดงให้ผู้ซื้อได้เห็นถึงคุณภาพก่อนตัดสินใจซื้อขายธุรกิจกันต่อไป

ภายในงานยังนำเสนอโซนพาวิลเลี่ยนนานาชาติ จากประเทศ จีน, เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งครั้งนี้ร่วมตัวกันมาเปิดตัวเป็น
Foodtech Indonesia เป็นการรวมตัวกันของบริษัทชั้นนำจากเนเธอร์แลนด์มากกว่า 10 บริษัท มารวมไว้ที่โซนนี้ ซึ่งอิลเด็กซ์ อินโดนีเซียรวมผู้ประกอบการชั้นนำมากมายมาไว้ที่เวทีเจรจาธุรกิจเดียว อาทิ บริษัท Big Dutchman, Behn Meyer, Buhler, CJ, DSM, Evonik, Famsun, Gemlang group, Japfa Comfeed Indonesia, Jefo, Linco, Marel, Moba, Nabel, Petersime, Pokphand, Romindo ฯลฯ ในส่วนของผู้ประกอบการไทย มีทั้งสิ้น 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท Novus International (Thailand) Co., Ltd., Clear Water Enterpries Ltd., K.S.P Equipment Co., Ltd., Siam Water Flame Co., Ltd., A&S Thai Work Co., Ltd.
IntelliFarm และ P.P.F. Poultry Equipment Co., Ltd ซึ่งต่างพร้อมที่จะนำเอาเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ ไปนำเสนอกับผู้ซื้อในตลาดอินโดนีเซียครั้งนี้ ผู้จัดคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานกว่าหมื่นคน พร้อมด้วยผู้ซื้อรายสำคัญที่ถูกเชิญมาจากทั่วเอเชีย

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดคือ การเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ งานสัมมนาเรื่อง การจัดการขยะที่ยั่งยืน, มาตรฐานการควบคุมดูแลสุขภาพสัตว์ โดยกระทรวงเกษตรแห่งอินโดนีเซีย, งานสัมมนาสำหรับสัตวแพทย์ในหัวข้อด้านสุขภาพสัตว์ โดย FAVA, การดูแลสุขภาพสัตว์ปีกในยุคปราศจากยาปฏิชีวนะ โดย Jefo, การคาดการณ์อย่างแม่นยำในฟาร์ม โดย Evonik, ความปลอดภัยของอาหารจากสัตว์ปีก โดย BEHN MEYER, การบำรุงรักษาระบบห้องเย็น โดย CPI – PORTACOOL, Ecobiol®: โปรไบโอติกจำเป็นต่อลำไส้ของสัตว์ปีก โดย Evonik (SEA) Pte.Ltd., แนวโน้มและการแก้ปัญหาความร้อนที่มากขึ้นในบริเวณปากน้ำของอินโดนีเซีย โดย CPI – LB WHITE, ประโยชน์ของการผสมผสานน้ำมันหอมระเหย Next Enhance 150” สำหรับสัตว์ปีกโดย Novus International, การนำเทคโนโลยีจากเดนมาร์กมาประยุกต์ใช้ในการผลิตปศุสัตว์ของเอเชีย โดย SKIOLD A / S และ การส่งเสริมฟาร์มอัจฉริยะและแผนพัฒนาที่ยั่งยืน โดย EPIS เป็นต้น งานสัมมนาดังกล่าวเปิดให้ผู้เข้าชมงานเข้าร่วมฟรี เพียงลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อจับจองที่นั่งได่ที่ www.ildexregis.com เตรียมตัวให้พร้อมแล้วพบกันที่อิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2019 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2562 นี้ ณ ฮอลล์ 3 และ 3A ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติ ICE กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ildex-indonesia.com หรือโทร. 02-670-0900

_______________________________________

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี อีเมล์ [email protected] โทร. 02-6700900 ต่อ 122
www.vnuasiapacific.com